หน้าแรก | เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก | ติดต่อโฆษณา | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อเรา

ภาษีที่ดิน(ใหม่)…ใครถูกหวย?

วางแผนภาษี บุคคลธรรมดา คะบุคคล นิติบุคคล ระบบบัญชีสำหรับ หอพัก
ภาษีเงินได้ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีป้าย สิทธิ์เก็บกิน ทำบัญชี...

ภาษีที่ดิน(ใหม่)…ใครถูกหวย?

โพสต์โดย bigkid เมื่อ จันทร์ 27 เม.ย. 2009 11:54 am

ภาษีที่ดิน(ใหม่)?ใครถูกหวย?

อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์

amornsak@tax-thai.com


เรื่องของร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับใหม่) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2549 (เป็นอย่างเร็ว) ได้สร้างความตื่นเต้นและตระหนก (อีกครั้ง) ไปทั่วบ้านทั่วเมือง เพราะสื่อมวลชนทุกแขนง (โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ) ได้โหมกระพือและเล่นข่าวกันถ้วนหน้า อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ที่ผ่านมา?ประกอบกับความอ่อนด้อยประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ ซึ่งยังมะงุมมะงาหรา โดยที่ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดและการศึกษาผลกระทบ/วิธีปฏิบัติสักเท่าใด?งานนี้ถือเป็นงานช้างไม่แพ้ปัญหาภาษีมรดกนะครับ เพราะขณะนี้ภาพลักษณ์ออกมาประหนึ่งรัฐต้องการเม็ดเงินไปถมงบประมาณ ที่เพิ่มขึ้นมากตามมูลค่าอภิมหาโปรเจ็ค ของรัฐ จนต้องหันมารีดเลือดจากปู ซึ่งตกระกำจนบักโกรกหมดแล้ว อย่าว่าแต่จะเก็บภาษีแค่ไม่เกินปีละ 2,000 บาทต่อคนเลยครับ?ยุคนี้สำหรับประชาชนเดินดินกินข้าวแกงนั้น แค่ 200 บาท ก็อาจต้องชวนทะเลาะกับ ?หน่วยราชการ ปกครองส่วนท้องถิ่น? (ผู้จัดเก็บ) อยู่แล้ว !

โดยหลักการ ผู้เขียนเห็นด้วยและเชื่อว่าประชาชนในแต่ละชุมชนของท้องถิ่นต่างๆ ก็จะเห็นด้วย ถ้าเขาเข้าใจในเหตุผล ความจำเป็นและแนวคิด (ซึ่งดีมาก) ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้?ติดปัญหาเพียงจังหวะเวลา (timing) เท่านั้นแหละ?นี่ถ้าออกข่าวช่วงเศรษฐกิจฟูฟ่องหรือช่วงแข่งขันฟุตบอลโลกหรือเอเชียนเกมส์?ก็คงไม่หนักอกหนักใจเหมือนตอนนี้ !



1. เปรียบเทียบระบบภาษีแบบเดิมกับแบบใหม่

ในที่นี้ ผู้เขียนขอหยิบยกเอากฎหมายภาษีที่ดินฉบับร่างเมื่อปี 2543 ซึ่งค้างเติ่ง (มิได้นำเข้าสู่สภา) มาจนบัดนี้ มาวิเคราะห์เป็นแนวทางเบื้องต้นดังนี้ครับ

tax.jpg
tax.jpg (58.02 KiB) เปิดดู 1563 ครั้ง



2. กฎหมายเดิม?ไม่ดีตรงไหน?

ประเด็นนี้ ทางราชการและสื่อต่างๆ ยังไม่ได้เจาะลงไป ทั้งๆ ที่เป็นส่วนสำคัญ?ซึ่งในที่นี้ ผู้เขียนขอสรุปคร่าวๆ ได้อย่างนี้ครับ

(1) ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเก็บจากค่าเช่ารายปีในอัตรา 12.5% โดยใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน จึงขาดความชัดเจน รั่วไหลง่าย ประกอบกับอัตราภาษีที่สูงเกินไปจึงจูงใจให้อยากหลีกเลี่ยง และฐานภาษีแคบ เพราะยกเว้นแก่บ้านอาศัยและบ้านปิดว่าง จึงมีผู้เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเพียง 30% เท่านั้น จึงทำให้เม็ดเงินภาษีไม่เพียงพอใช้จ่ายในท้องถิ่น และไม่เป็นธรรม (เพราะดูประหนึ่งว่าประชากรอีก 70% ?ทำนาบนหลังคน? (ไม่เสียภาษี))

(2) ภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งเก็บจากที่ดินใช้อยู่อาศัยและที่ดินว่างเปล่า โดยใช้ราคาปานกลางของที่ดินในปี 2521-2524 ซึ่งล้าสมัย ภาระภาษีจึงต่ำ ทำให้เกิดการกักตุนและเก็งกำไรที่ดิน ที่ดินส่วนใหญ่จึงมิได้นำมาเป็นปัจจัยการผลิตให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของชาติเท่าที่ควร



3. กฎหมายใหม่?ดีจริงหรือ?

ร่างกฎหมายใหม่ ได้ยุบ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ กับ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ เข้าด้วยกันเป็นฉบับเดียวเรียก ?พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง? โดยวางโครงสร้างใหม่หมดเพื่อแก้จุดอ่อนของกฎหมายเดิม 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

(1) ฐานภาษี ได้เปลี่ยนมาใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ (ที่ดิน โรงเรือน ห้องชุด) นั่นคือเปลี่ยนจากฐาน ค่าเช่า (Rental Value) มาใช้มูลค่าทรัพย์สิน (Capital Value) แทน ซึ่งถูกต้องตามทฤษฎีการจัดเก็บ ?ภาษีทรัพย์สิน? ตามหลักสากล

(2) อัตราภาษี ซึ่งแบ่งเป็น 5 โครงสร้างๆ ละ 3 อัตรา ให้คณะกรรมการท้องถิ่นเลือกใช้โครงสร้างที่สะท้อนสภาพเศรษฐกิจแต่ละแห่งโดยต้องอิงอัตราเฉลี่ยที่แท้จริงซึ่งเก็บอยู่เดิม (Effective Tax Rate) ผลก็คือทำให้ ผู้เสียภาษีโรงเรือนเดิมมีภาระภาษีลดลง แต่ผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่มีภาระเพิ่มขึ้น

(3) เลิกการลดหย่อน ทำให้เจ้าของบ้านอยู่อาศัยต้องเสียภาษี โดยเฉพาะที่ดินว่างเปล่าจะถูกเก็บภาษีเพิ่ม 1 เท่าในทุกรอบ 3 ปี (ครม. ติงให้แยกที่ดินเกษตรว่างเปล่า ออกมาเก็บเพิ่ม 1 เท่าทุกๆ ปี) จึงเป็นกลไกขจัดปัญหาการกักตุน/เก็งกำไรที่ดิน และมีแนวโน้มให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินออกไปสู่ภาคการผลิต ซึ่งจะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ



4. ส่งท้าย

ต้องยอมรับว่าร่างกฎหมาย ?ภาษีทรัพย์สิน? ฉบับนี้ มีจุดดีอยู่มากและเดินมาถูกทางแล้วซึ่งหากได้รับการปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนบางประการ และผ่านการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ด้วย ก็จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิ

- ควรกระจายอำนาจการออกระเบียบปฏิบัติไปสู่ ?คณะกรรมการประจำท้องถิ่น? ให้มากขึ้น เพราะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์/ผลเสียโดยตรง เนื่องจากภูมิประเทศ สภาพเศรษฐกิจ และความต้องการเม็ดเงินของแต่ละจังหวัดแตกต่างกัน เช่น การแบ่งโซนความเจริญ ไม่ควรกำหนดในกฎหมาย/ชี้นำจากส่วนกลางมากเกินไป ฯลฯ

- ประเด็นความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อย น่าจะใช้บทเฉพาะกาลยืดผลบังคับใช้ ซึ่งอาจเป็น 3-5 ปี หรืออาจเก็บเพียงกึ่งหนึ่งของอัตราตามกฎหมายในช่วง 2-3 ปีแรก เป็นต้น แต่ไม่ควรบัญญัติให้มีการลดหย่อน/ยกเว้นเหมือนกฎหมายภาษีบำรุงท้องที่เดิม (เช่นพื้นที่ต่ำกว่า 100 ตร.วา หรือ 5 ไร่ สำหรับเกษตรกรรม ไม่ต้องเสียภาษี เป็นต้น) เพราะจะเป็น ?การถอยหลังเข้าคลอง? ไปจมปลักกับปัญหาเดิมๆ อีก

- ประเด็น ?ที่ดินว่างเปล่า? ต้องวางกรอบกติกาให้ชัดเจน เพราะสภาพการใช้ที่ดินมีหลายรูปแบบ อาทิ กสิกรรม ปศุสัตว์ โรงงาน บ้านอาศัย เหมือง ฯลฯ

- ต้องจัดทำ ?แผนที่ที่ตั้งของที่ดินทั่วประเทศ

Download document:
taxland2.doc
(54 KiB) ดาวน์โหลด 1807 ครั้ง
bigkid
 
โพสต์: 42
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 27 เม.ย. 2009 10:07 am

ย้อนกลับไปยัง การวางแผนภาษี-บัญชี หอพัก

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron